ค้นหาบล็อกนี้

29 มิถุนายน 2552

สรุปโครงสร้างข้อมูล-อาเรย์ 03-30/06/2009

ตัวแปรอาเรย์ สามารถเก็บข้อมูลหลายๆข้อมูลไว้ได้โดยไม่ต้องใช้ตัวแปรหลายตัว เราสามารถสร้างตัวแปรอาเรย์ของข้อมูลชนิดต่างๆได้ไม่ว่าจะเป็นอาเรย์แบบ int, char, float ลงไป มันก็ไม่เก็บค่าอะไรไว้จะเป็นช่องว่างๆไปโดยอัตโนมัติอาเรย์ของข้อมูลชนิด char คือตัวแปรสตริงตัวแปรอาเรย์ของข้อมูลชนิด char อีกนัยหนึ่งก็คือตัวแปรแบบข้อความหรือตัวแปรสตริง(String) ตัวแปรสตริงคือการนำเอาตัวแปรแบบ char มาเรียงต่อๆกัน ซึ่งตัวแปร char ที่เรียงต่อกันก็เรียกได้ว่าเป็นตัวแปรอาเรย์ของข้อมูลชนิด char นั่นเอง จึงสรุปได้ว่า ”สตริง” กับ “อาเรย์ของ ข้อมูลชนิด char” คือสิ่งเดียวกันตัวแปรอาเรย์ของข้อมูลชนิด char จะแตกต่างจากอาเรย์ของ int, double หรือแบบอื่นๆ เพราะว่าสมาชิกตัวสุดท้ายของอาเรย์แบบ char จะใช้เก็บรหัสสิ้นสุดข้อความ ด้วยเหตุนี้ถ้าเราประกาศตัวแปรอาเรย์แบบ char เพื่อเก็บข้อความ เราจะต้องประกาศอาเรย์ให้มีขนาดมากกว่าจำนวนตัวอักษรของข้อความที่ต้องการเก็บอย่างน้อย 1 ตัวอักษรสมมติว่าเราประกาศตัวแปรอาเรย์แบบ char เพื่อที่จะเก็บคำว่า “Computer” ซึ่งมีทั้งหมด 8 ตัวอักษร เราจะต้องประกาศตัวแปรอาเรย์แบบ char ที่มีขนาด 9 ตัวอักษร นอกจากนี้การกำหนดค่าให้กับตัวแปรอาเรย์แบบ char หรือตัวแปรสตริงนี้ยังสามารถทำไปพร้อมกับการประกาศตัวแปรได้เลย ดังนี้char s[5] = “GIRL”;หรือchar s[5] = { ‘G’, ‘I’, ‘R’, ‘L’ }การนำค่าในอาเรย์ไปใช้การใช้งานตัวแปรอาเรย์แบบ char นั้น โดยมากจะใช้รับค่าที่เป็นข้อความ เช่นชื่อ, เบอร์โทรศัพท์, ที่อยู่, อีเมล์, ชื่อเว็ปไซท์ เป็นต้น