ค้นหาบล็อกนี้

01 กรกฎาคม 2552

โครงสร้างข้อมูล 02-06/23/2009

โครงสร้างข้อมูลเป็นวิธีการจัดเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บ่อยครั้งที่การเลือกโครงสร้างข้อมูลที่เหมาะสมจะทำให้เราสามารถเลือกใช้ที่มีประสิทธิภาพไปพร้อมกันได้ การเลือกโครงสร้างข้อมูลนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มต้นจากการเลือกโครงสร้างข้อมูลที่ออกแบบเป็นอย่างดีจะสามารถรองรับการประมวลผลที่หนักหน่วงโดยใช้ทรัพยากรที่น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งในแง่ของเวลาและหน่วยความจำ
โครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบจะเหมาะสมกับงานที่แตกต่างกัน และโครงสร้างข้อมูลบางแบบก็ออกแบบมาสำหรับบางงานโดยเฉพาะ อย่างเช่น ต้นไม้แบบบี
กระบวนการออกแบบ"โปรแกรมคอมพิวเตอร์" การเลือกโครงสร้างข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่ต้องคำนึงถึง ซึ่งจากการพัฒนาระบบงานใหญ่ๆได้แสดงให้เห็นว่า ความยากในการพัฒนาและประสิทธิภาพของระบบจะขึ้นอยู่กับโครงสร้างข้อมูลที่เลือกใช้อย่างมาก หลังจากตัดสินใจเลือกโครงสร้างข้อมูลที่จะใช้แล้วก็มักจะทราบถึงอัลกอริทึมที่ต้องใช้ได้ทันที แต่ในบางครั้งก็อาจจะกลับกัน คือ การประมวลผลที่สำคัญๆของโปรแกรมได้มีการใช้อัลกอริทึมที่ต้องใช้โครงสร้างข้อมูลบางแบบโดยเฉพาะ จึงจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ถึงอย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเลือกโครงสร้างข้อมูลด้วยวิธีการใด โครงสร้างข้อมูลที่เหมาะสมก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากอยู่ดี

29 มิถุนายน 2552

สรุปโครงสร้างข้อมูล-อาเรย์ 03-30/06/2009

ตัวแปรอาเรย์ สามารถเก็บข้อมูลหลายๆข้อมูลไว้ได้โดยไม่ต้องใช้ตัวแปรหลายตัว เราสามารถสร้างตัวแปรอาเรย์ของข้อมูลชนิดต่างๆได้ไม่ว่าจะเป็นอาเรย์แบบ int, char, float ลงไป มันก็ไม่เก็บค่าอะไรไว้จะเป็นช่องว่างๆไปโดยอัตโนมัติอาเรย์ของข้อมูลชนิด char คือตัวแปรสตริงตัวแปรอาเรย์ของข้อมูลชนิด char อีกนัยหนึ่งก็คือตัวแปรแบบข้อความหรือตัวแปรสตริง(String) ตัวแปรสตริงคือการนำเอาตัวแปรแบบ char มาเรียงต่อๆกัน ซึ่งตัวแปร char ที่เรียงต่อกันก็เรียกได้ว่าเป็นตัวแปรอาเรย์ของข้อมูลชนิด char นั่นเอง จึงสรุปได้ว่า ”สตริง” กับ “อาเรย์ของ ข้อมูลชนิด char” คือสิ่งเดียวกันตัวแปรอาเรย์ของข้อมูลชนิด char จะแตกต่างจากอาเรย์ของ int, double หรือแบบอื่นๆ เพราะว่าสมาชิกตัวสุดท้ายของอาเรย์แบบ char จะใช้เก็บรหัสสิ้นสุดข้อความ ด้วยเหตุนี้ถ้าเราประกาศตัวแปรอาเรย์แบบ char เพื่อเก็บข้อความ เราจะต้องประกาศอาเรย์ให้มีขนาดมากกว่าจำนวนตัวอักษรของข้อความที่ต้องการเก็บอย่างน้อย 1 ตัวอักษรสมมติว่าเราประกาศตัวแปรอาเรย์แบบ char เพื่อที่จะเก็บคำว่า “Computer” ซึ่งมีทั้งหมด 8 ตัวอักษร เราจะต้องประกาศตัวแปรอาเรย์แบบ char ที่มีขนาด 9 ตัวอักษร นอกจากนี้การกำหนดค่าให้กับตัวแปรอาเรย์แบบ char หรือตัวแปรสตริงนี้ยังสามารถทำไปพร้อมกับการประกาศตัวแปรได้เลย ดังนี้char s[5] = “GIRL”;หรือchar s[5] = { ‘G’, ‘I’, ‘R’, ‘L’ }การนำค่าในอาเรย์ไปใช้การใช้งานตัวแปรอาเรย์แบบ char นั้น โดยมากจะใช้รับค่าที่เป็นข้อความ เช่นชื่อ, เบอร์โทรศัพท์, ที่อยู่, อีเมล์, ชื่อเว็ปไซท์ เป็นต้น

สิ่งที่ฉันปรารถนา

สิ่งที่ฉันปรารถนา